มะเร็งตับอ่อน โรคร้ายที่คร่าชีวิตของสตีฟ จอบส์ โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ


โดยปกติแล้วผู้ป่วยโรคมะเร็งตับอ่อนส่วนมากจะเสียชีวิตเพียงไม่กี่เดือน หลังจากทราบการวินิจฉัยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกแจ้งว่า ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนที่มีชีวิตรอด 5 ปี หลังจากการวินิจฉัยพบเพียง ร้อยละ 5-8 เท่านั้น สาเหตุสำคัญที่บ่งบอกถึงความรุนแรงของโรคคือ “ชนิดของเซลล์มะเร็งตับอ่อน” สตีฟ จอบส์ ป่วยเป็นมะเร็งตับอ่อนชนิด ไอส์เล็ต เซลล์ คาร์ซิโนมา (Islet Cell Carcinoma) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้น้อยมาก แต่ว่ามีการพยากรณ์โรคดีกว่ามะเร็งตับอ่อนชนิดอื่นๆ
ปี 2004 ประมาณ 9 เดือนหลังจากทราบว่าป่วยเป็นมะเร็งตับอ่อน สตีฟ จอปส์ ได้รับการผ่าตัดเพื่อ เอาก้อนเนื้องอกออกได้สำเร็จ แต่เมื่อปี 2009 ได้เข้ารับการผ่าตัดอีกครั้งเพื่อเปลี่ยนถ่ายตับและเสียชีวิต ในอีกสองปี
  • ทำไมมะเร็งตับอ่อนถึงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว?
  • โรคมะเร็งตับอ่อนชนิด ไอส์เล็ต เซลล์ คาร์ซิโนมา (Islet Cell Carcinoma) คืออะไร?
  • สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?
  • จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามันเกิดกลับมาเป็นซ้ำหลังจากการรักษาโดยการผ่าตัดในครั้งแรก?

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพมีคำตอบเหล่านี้ให้กับคุณ
ทำไมมะเร็งตับอ่อนถึงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว?
ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์ในการย่อยอาหาร, สร้างอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด และสร้างฮอร์โมนอื่นๆ เพื่อสร้างพลังงานในกับร่างกาย
โดยปกติแล้วมะเร็งตับอ่อนเป็นโรคที่ร้ายแรงและผู้ป่วยจะมีชีวิตรอดหลังจากการวินิจฉัยเพียงไม่กี่เดือน อาจเป็นเพราะส่วนใหญ่เมื่อรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนมักจะตรวจพบว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนที่มีชีวิตรอด 5 ปี หลังจากการวินิจฉัยพบเพียงร้อยละ 5-8 เท่านั้น
มะเร็งตับอ่อนที่พบส่วนใหญ่ คือ ชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (adenocarcinoma) อาการมะเร็งตับอ่อนซึ่งมักเกิดขึ้นในระยะร้ายแรงแล้ว ได้แก่ น้ำหนักลด, ปวดท้อง, ดีซ่าน
สมาคมโรคมะเร็ง ประเทศสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่า ในปี 2011 จะมีผู้ป่วยจำนวน 44,030 ราย และ 37,660 ราย เสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับอ่อน ชนิดของมะเร็งตับอ่อนที่พบบ่อยที่สุด คือ อะดีโนคาร์ซิโนมา (adenocarcinoma) ซึ่งมีความรุนแรงมาก ผู้ป่วยมีชีวิตรอด 1 ปี พบประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนทั้งหมด และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 4 ของโรคมะเร็งในประเทศสหรัฐอเมริกา
อะไรคือข้อบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนไม่สามารถรักษาโดยวิธีการผ่าต้ดได้?
โดยปกติแล้วจะไม่ทำการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดในผู้ป่วยรายที่มะเร็งแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น หรือเนื้อมะเร็งกระจายอยู่ใกล้เส้นเลือดใหญ่มาก เนื่องจากการศึกษาพบว่า การผ่าตัดไม่สามารถเพิ่ม โอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนเพียงร้อยละ 10 – 15 ที่สามารถรักษาด้วย วิธีการผ่าตัดได้ หลังจากผ่าตัดแล้วมีโอกาสที่มะเร็งจะกลับเป็นซ้ำประมาณร้อยละ 85 และอัตราการรอดชีวตหลังจากผ่าตัดแล้ว 5 ปี พบประมาณร้อยละ 25 – 30 เท่านั้น
ทำไมมะเร็งชนิดนี้ถึงได้ร้ายกาจนัก?
เนื่องจากลักษณะเฉพาะของเซลล์มะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (adenocarcinoma) สามารถ ซ่อนตัวเพื่อหลีกหนียาต้านมะเร็ง สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ใหม่หลังการรักษาครบแล้ว และแพร่ กระจายไปที่ตับ เป็นสาเหตุทำให้ถึงแก่ชีวิตในที่สุด
อะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดมะเร็งตับอ่อน?
ปัจจุบันปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งตับอ่อนมากที่สุด คือ การสูบบุหรี่ โดยผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับอ่อนมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ประมาณ 2 -3 เท่า และประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งตับอ่อนของสมาชิกในครอบครัว อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ สาเหตุอื่นๆ พบได้ ค่อนข้างน้อยคือลักษณะทางกายภาพของตับอ่อนมีความผิดปกติ
แต่อย่างไรก็ตาม การมีปัจจัยเสี่ยงไม่ว่ามากหรือน้อย ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นโรคเสมอไป ผู้ป่วยบางรายอาจป่วยเป็นโรคโดยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเลยก็ได้
ปัจจัยใดที่มีผลต่อความเร็วในการวินิจฉัยโรค?
ความเร็วในการวินิจฉัยมีความสัมพันธ์กันกับตำแหน่งของเซลล์มะเร็งในตับอ่อน ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามะเร็งกระจายอยู่ส่วนต้นของตับอ่อน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ติดกับท่อน้ำดี ขนาดของมะเร็งที่ใหญ่ขึ้น จะทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดี ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีซ่านได้ ซึ่งอาการแสดงที่ผิดปกติ เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าถ้าก้อนมะเร็งกระจายอยู่ส่วนท้ายของตับอ่อน
อาการที่พบบ่อยของมะเร็งตับอ่อนคืออะไร?
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ, ปวดท้อง, คลื่นไส้, อาเจียน, บางรายอาจมีอาการปวดหลังได้ เนื่องจากตำแหน่งของตับอ่อนอยู่ในช่องท้องและค่อนไปทางด้านหลัง

อะไรคือทางเลือกของการรักษา ในกรณีที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้?
เคมีบำบัด หรือการฉายรังสี เป็นอีกทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน
โรคมะเร็งตับอ่อนชนิด ไอส์เล็ต เซลล์ คาร์ซิโนมา (Islet Cell Carcinoma) คืออะไร?
สตีฟ จอบส์ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนชนิดที่พบได้น้อยมาก แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า และตอบสนองต่อการรักษาได้ดีกว่ามะเร็งตับอ่อนชนิดอื่นๆ มะเร็งตับอ่อนชนิดนี้เรียกว่า ไอส์เล็ต เซลล์ คาร์ซิโนมา (Islet Cell Carcinoma) ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาจะพบผู้ป่วยชนิดนี้ปีละประมาณ 200 - 1,000 ราย
ไอส์เล็ต เซลล์ (Islet Cells) เป็นเซลล์ชนิดหนึ่งในตับอ่อน ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน ข้อมูลจาก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริการายงานว่าการวินิจฉัยโรคนี้ค่อนข้างยาก แต่ส่วนมากเมื่อเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้
การดำเนินโรคและความรุนแรงของโรคนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของเซลล์ที่มีการเปลี่ยน แปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ถ้ามีจำนวนมากร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ เป็นสาเหตุให้การทำหน้าที่ ย่อยอาหารผิดปกติ หรือขนาดของมือและเท้าใหญ่ผิดปกติ ซึ่งมะเร็งกลุ่มนี้มักมีอาการไม่ร้ายแรง (benign tumors) ส่วนน้อยของมะเร็งไอส์เล็ต เซลล์ ไม่มีความผิดปกติของการสร้างฮอร์โมน แต่ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยมะเร็งในกลุ่มนี้จะร้ายแรงถึงชีวิตได้
โรคมะเร็งตับอ่อนชนิด ไอสเล็ต เซลล์ คาร์ซิโนมา สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?
นายแพทย์ เดวิด ลีวี ศาสตาจารย์ภาควิชาศัลยศาตร์ มหาวิทยาลัยไมอามี่ กล่าวว่า โดยปกติแล้ว มะเร็งชนิดนี้จะได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดซึ่งได้ผลค่อนข้างดี ในบางรายอาจสามารถหายขาดได้ และ ทางเลือกอื่นสำหรับการรักษาคือการใช้ยาเคมีบำบัดเพื่อควบคุมการลุกลามของมะเร็ง ถึงแม้ว่า ผู้ป่วย บางรายไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ก็จะมีชีวิตอยู่ได้หลายปีหลังจากการรักษา โดยผู้ป่วยสามารถ มีชีวิตรอดเฉลี่ยประมาณ 5 - 8 ปี
ในปี 2004 สตีฟ จอบส์ สามารถต่อสู้กับมะเร็งตับอ่อนได้สำเร็จโดยรับการผ่าตัดวิธีวิปเปิ้ล (Whipple procedure) เพื่อผ่าตัดก้อนมะเร็งตับอ่อนส่วนต้น, บางส่วนของท่อน้ำดี, ถุงน้ำดี, และลำไส้เล็กส่วนแรกออก แต่ประมาณ 5 ปีต่อมาในปี 2009 สพีฟ จอปส์ ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายตับใหม่ ซึ่งไม่มีการแจ้งถึงสาเหตุของการผ่าตัดครั้งนี้อย่างชัดเจน ซึ่งนายแพทย์ เดวิด ลีวี กล่าวว่า การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนถ่ายตับใหม่นี้จะทำในผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปที่ตับ แต่ยังไม่แพร่ กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ มีผู้ป่วยเพียงไม่กี่รายที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีนี้ ซึ่งอาจเป็น อีกหนึ่งวิธีที่ สามารถรักษามะเร็งตับอ่อนให้หายขาดได้
แต่อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดชนิดนี้เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ยังคงมีเซลล์มะเร็งอยู่ใน อวัยวะอื่นๆ เนื่องจากหลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะแล้ว ผู้ป่วยจะต้องได้รับยาเพื่อกดภูมิคุ้มกัน ไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันการปฏิเสธอวัยวะใหม่จากร่างกาย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเรา ไม่ สามารถควบคุมเซลล์มะเร็งที่อยู่ในอวัยวะอื่นๆ ได้
นอกจากนั้นหลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายตับแล้ว มะเร็งชนิดนี้สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้เช่นกัน และเมื่อไหร่ที่เกิดเหตุการณ์นี้ การพยากรณ์ของโรคจะร้ายแรงขึ้นและเป็นเหตุให้ผู้ป่วยจะถึงแก่ชีวิตในที่สุด
SOURCES:
David Levi, MD, professor of clinical surgery, University of Miami Miller School of Medicine.
National Cancer Institute PDQ web site.
University of Southern California Center for Pancreatic and Biliary Diseases web site.
Memorial Sloan-Kettering web site.

0 ความคิดเห็น :