ออกกำลังกายวันละนิดเพื่อสุขภาพที่ดี

โดยปกติกิจวัตรประจำวันของเราทุกคน คือ การออกจากบ้านไปที่ทำงาน หลังเลิกงานบางท่านอาจมี
กิจกรรมอื่นๆนอกบ้าน เช่น ไปฟิตเนส ไปวิ่งที่สวนสาธารณะ หรือไปออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค
แต่ความยากลำบากของคนส่วนใหญ่ คือ ไม่สามารถทำตามตารางเวลาที่จัดไว้ได้ เช่น เคยตั้งเป้าหมาย
ว่า จะต้องออกกำลังกายก่อนหรือหลังเลิกงาน อย่างน้อย 1 ถึง 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ แต่ด้วยความรับผิด
ชอบในหน้าที่การงานในแต่ละวัน จึงทำให้เราไม่สามารถมีเวลา หรือหากมีก็ไม่สามารถปฎิบัติได้ตามเป้า
หมายที่ตั้งไว้
โดยปกติร่างกายของเราทุกคนจะอยู่ในท่าพักผ่อน หรือท่านั่ง ประมาณ 8 ช.ม. ต่อวัน บางทีอาจนั่งทำ
งานมากถึง 10 ช.ม. ต่อวัน (รวมเวลานั่งทานอาหารและนั่งอยู่ในรถด้วย) ซึ่งนั่นถือว่าเราอยู่ในท่านั่งเป็น
เวลานานมากต่อวัน
ใครจะคิดว่า พฤติกรรมท่านั่งปกติธรรมดาเช่นนี้ จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคอย่าง “กล้ามเนื้อ
ตะโพกหนีบเส้นประสาท” ได้
“ผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดรุนแรง กว่าโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เสียอีก นอนตอนกลางคืน
จะปวดมากจนนอนไม่หลับ เวลาเปลี่ยนท่า อย่างการเดินแรกๆ มักจะปวดตะโพกลงขา แต่พอเดินๆ ไป
ระยะหนึ่งจะค่อยๆ หายปวดขา ถ้าเป็นที่กล้ามเนื้อต้นคอ เวลาขยับกล้ามเนื้อคอจะมีอาการปวดเสียว
อาการปวดตามบ่า ไหล่ ตะโพกที่ค่อยๆ ขยายวงกว้างขึ้นจนไปถึงปลายมือ ปลายเท้า ไม่ว่าจะกินยา
ขนานใดก็ตาม ไม่มีทีท่าว่าจะหายขาดนั้น คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นสาเหตุมาจากกระดูกสันหลังทับเส้น
ประสาทแต่ไม่ใช่ ทั้งหมด เพราะคนไข้บางรายที่ตรงไปพบแพทย์ด้วยอาการที่ว่าอาจจะพบความผิดปกติ
ของหมอน รองกระดูกสันหลังที่อาจเกิดขึ้นตามวัยด้วย บางรายยอมที่จะเจ็บตัวกับการผ่าตัดทว่าอาการ
ของโรคก็ดูเหมือนจะยังไม่หายไป อย่างแรงเหมือนไฟฟ้าช็อตไปที่แขนได้ ซึ่งอาการนี้คล้ายคลึงกับใน
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมาก” น.อ.นพ.ทายาท บูรณกาล ผู้อำนวยการสถาบันโรคกระดูก
สันหลัง กรุงเทพ ระบุ 

จาก สาเหตุนี้จึงทำให้หลายบริษัทและองค์กรต่างๆ หันมาส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยท่า
บริหารร่างกายในเวลาทำงานให้กับ พนักงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ
  1. เวลายืนอยู่กับที่
    เราสามารถใช้ท่ายืนอยู่กับที่ให้เป็นประโยชน์ได้ ในท่ายืนนั้นสามารถช่วยเผาผลาญแคลลอรี่ได้ง่ายๆ
    • ยืนพูดโทรศัพท์หรือส่งข้อความจากโทรศัพท์มือถือ
    • ยืนประชุมเพื่อคิดงานแทนนั่ง
    • ยืนรับประทานอาหาร
    • ลุกขึ้นยืนประมาณ 3-5 นาที ทุกๆ 3 ช.ม.
  2. เวลาพักกลางวัน
    เราทุกคนควรใช้เวลาพักทานกาแฟหรือพักทานอาหารกลางวันให้เป็นประโยชน์ เช่น เดินเร็ว หรือเดินรอบบริเวณอาคารพร้อมๆกับการยืดเส้นยืดสาย ยืดกล้ามเนื้อไปด้วย
    • ก้มลงไปจับนิ้วเท้า
    • ก้มศีรษะลงและให้คางแตะที่หน้าอกจนรู้สึกตึงที่บริเวณหลังและลำคอ
    • ยกไหล่ทั้งสองข้างขึ้นให้ถึงระดับหู
    • ยกแขนข้างขวาและพับแขนลงมา ทำให้ข้อศอกตั้งฉาก จากนั้นใช้แขนซ้ายดันไปที่ข้อศอกจนรู้สึกตึง ทำซ้ำข้างละ 2 นาที
  3. การใช้อุปกรณ์ยกนํ้าหนัก
    ควร มีดัมเบลเล็กๆที่ไม่หนักมากไว้ในที่ทำงาน ดัมเบลสามารถเป็นตัวช่วยในการออกกำลังกายที่แแขนและขา เพื่อผ่อนคลายจากอาการตึงของกล้ามเนื้อได้
  4. ใช้บันไดแทนลิฟท์หลังอาหารกลางวัน
    การ เดินขึ้นบันไดหลังรับประทานอาหารกลางวันเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ค่อยอยากทำ แต่หากคุณเดินขึ้นบันไดเพียงแค่ 2-3 ขั้น ก็ถือเป็นการออกกำลังกายที่ดีทีเดียว
  5. เดินมาทำงาน
    หาก คุณอยู่ไม่ไกลจากที่ทำงาน แทนที่จะขับรถมาทำงาน ลองหันมาเดินหรือปั่นจักรยานแทนก็เป็นการออกกำลังกายที่ดี หากต้องขับรถมาทำงานก็ควรเลือกที่จะจอดรถให้ไกลจากที่ทำงานซักนิด เพื่อทิ้งระยะในการเดินเข้าที่ทำงาน เพียงเท่านี้ก็เป็นการออกกำลังกายที่ทำได้ง่ายๆ
เมื่อคุณเริ่มจัดตารางเพื่อออกกำลังกายในที่ทำงาน คุณก็จะเห็นได้ทันทีว่า เพียงไม่กี่นาทีเราก็สามารถ
ดูแลสุขภาพเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของเรา แบบไม่มีข้อจำกัด

มาออกกำลังกายกันเถอะครับ 
 
ข้อมูลทางการแพทย์ bangkokhealth

0 ความคิดเห็น :