มะเร็งลำไส้ใหญ่ อันตรายที่ใกล้ตัว

มะเร็งลำไส้ใหญ่คร่าชีวิตคนทั่วโลกนับพัน มะเร็งลำไส้ใหญ่จัดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับที่ 3 ในสหราชอาณาจักรและเป็นอันดับที่ 2 ในประเทศออสเตรเลีย
ลำไส้ของมนุษย์เรานั้นมีส่วนช่วยในการย่อยและดูดซึมน้ำและสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักดังนี้
  • ลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารและทำการย่อย
  • ลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่หลักในการดูดซึมน้ำ
  • ทวารหนัก ทำหน้าที่เก็บของเสียและขับถ่ายเป็นอุจจาระ
มะเร็งลำไส้ใหญ่คืออะไร
มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งเกิดตรงลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ซึ่งเป็นส่วนที่รองรับอาหารที่เรารับประทานเข้าไป และถ่ายเป็นอุจจาระออกทางทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นจะไม่ได้เกิดโดยทันทีทันใด แต่จะใช้เวลาหลายปี ในระยะเริ่มแรกนั้นจะเกิดจากติ่งเนื้อในลำไส้หรือในทวารหนักจากนั้นจะกระจาย ไปสู่อวัยวะอื่นๆ หากแพทย์ตรวจพบว่ามีติ่งเนื้อในลำไส้แพทย์จะทำการผ่าตัดติ่งเนื้อและนำไป ตรวจว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่
ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
การได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรมรวมไปถึงการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ และจากสถิติพบว่าชาวตะวันตกนั้นมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ ใหญ่ สาเหตุหลักนั้นมาจากอาหารบริโภคที่มีไขมันสูงนั่นเอง
อาการที่สามารถพบได้
  • มีเลือดออกที่บริเวณทวารหนัก
  • ถ่ายเป็นเลือด
  • มีการขับถ่ายที่เปลี่ยนไป เช่น ถ่ายบ่อยขึ้น ถ่ายลำบากมากขึ้น อุจจาระมีลำเล็กลง
  • ปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ
อาการที่กล่าวมานั้น อาจจะไม่ใช่อาการบ่งชี้ของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เสมอไป ดังนั้นการเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆจะสามารถทำให้คุณ ทราบถึงอาการโดยเร็ว เพื่อแพทย์จะได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที
การตรวจวินิจฉัยนั้นมีด้วยกันหลายวิธี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะตรวจวินิจัยอาการและวางแผนการรักษา โดยการตรวจหาเลือดในอุจจาระ โดยใช้กล้องซิกมอยด์โดสโคป หรือกล้องโคโลโนสโคป ที่สามารถสอดเข้าทางทวารหนักเพื่อเข้าไปตรวจลำไส้ใหญ่
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรกนั้นจะกินลึกเพียงแค่ชั้นเยื่อบุผิวด้านในของลำ ไส้ และยังไม่ลุกลามถึงชั้นกล้ามเนื้อของผนังลำไส้ การผ่าตัดจะสามารถทำให้หายขาดจากโรคมะเร็งได้
การป้องกันการเกิดมะเร็ง แม้ว่าเรายังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดมะเร็งก็ตาม แต่เราก็สามารถป้องกันการเกิดของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ เช่น การควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การตรวจหามะเร็งในเบื้องต้น จากสถิติพบว่าผู้ป่วย 9 ใน10 ที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มีโอกาสหายขาดได้หากเข้าทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเพียง 40 % หรือน้อยกว่าเท่านั้นที่เข้ามาตรวจอาการและได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้นของ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง
  • การผ่าตัด แพทย์ทำการผ่าตัดในระยะนี้ หากมะเร็งลามไปแค่ชั้นเยื่อบุผิวด้านในของลำไส้เท่านั้นและยังไม่ลุกลามถึงชั้นกล้ามเนื้อของผนังลำไส้
  • การฉายแสง เป็นการใช้รังสีพลังงานสูง แพทย์ใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนตรง เพื่อการทำลายก้อนมะเร็งก่อนการผ่าตัด
  • การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เป็นการใช้ยาเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งที่กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายหลังจากการผ่าตัด
ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งในผู้ชายและหญิง
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  • การได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรมในครอบครัวที่เป็นมะเร็ง
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบเป็นเวลานานๆหลายปี
  • การตรวจผู้ป่วยที่มีประวัติ มีก้อนเนื้อที่เยื่อบุลำไส้ ในส่วนปลายของระบบทางเดินอาหาร
จากสถิติพบว่า ในประเทศออสเตรเลียนั้น สามารถพบโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ในผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 75ปี และพบใน ผู้ชาย 1 ใน 19 คน และผู้หญิง 1 ใน 28 คน ซึ่งถือได้ว่าเป็นอัตราการเกิดของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่สูงที่สุดในโลก
การพัฒนาทางการแพทย์ในการรักษา
โรคมะเร็งลำไส้ถือได้ว่าเป็นภัยคุกคามชีวิตประชากรทั่วโลกและเป็นโรคที่ น่ากลัวอยู่ในอันดับต้นๆ โดยกลไกของการเกิดเซลล์มะเร็งนั้น จะเกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เซลล์เกิดการแบ่งตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว การรักษาก็ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ในระยะเริ่มต้นส่วนมากจะผ่าตัด เพื่อเอาเนื้อร้ายออก ตามด้วยการให้เคมีบำบัดหรือการฉายรังสี ซึ่งที่ผ่านมาปรากฏว่าการรักษาได้ผลที่ดี
แต่ก็เป็นข่าวดีที่อาจจะช่วยคลายความกังวลให้กับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ไม่ มากก็น้อย ว่านวัตกรรมทางการแพทย์ได้พัฒนาให้แพทย์สามารถเลือกวิธีการรักษาที่มี ประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละคนโดยการตรวจวิเคราะห์ยีนเฉพาะบุคคล K-RAS หากยีน K-RAS สามารถควบคุมการแบ่งเซลล์ได้อย่างปกติ หรือที่เรียกได้ว่าไม่กลายพันธุ์เซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณลำไส้ใหญ่ก็จะ ไม่ลุกลาม
แหล่งข้อมูลทางการแพทย์ ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลกรุงเทพ

0 ความคิดเห็น :